คู่มือการใช้งานรถเข็นวีลแชร์ รุ่น GK869LAJ

ลงทะเบียนรับประกันสินค้าออนไลน์ ที่นี่

  1. พนักพิงหลัง
  2. มือจับ
  3. ที่ล็อกล้อ
  4. เบรกมือ
  5. ที่วางเท้า
  6. ล้อกันหงาย

วิธีการกางรถเข็น

  1. ปรับส่วนพนักพิงหลังขึ้น
  2. กางส่วนที่นั่งออก ดังภาพ
  3. ปรับที่วางเท้าลง
    • ควรพับที่วางเท้าขึ้น เมื่อผู้ป่วยต้องการลุกขึ้นหรือนั่งลง

     

    • ที่วางเท้าควรอยู่สูงเหนือพื้นไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร เพราะอาจชนกับสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ขณะเข็นเคลื่อนย้าย และเป็นสาเหตุให้รถเข็นเสียสมดุล

วิธีการปรับล้อกันหงาย

  • กุดปุ่ม (A) ค้าง พร้อมเลื่อนล้อกันหงายขึ้น – ลง
  • ตามระดับที่ต้องการ โดยสามารถปรับได้ 6 ระดับ

กรณีพับรถเข็น ควรปรับล้อกันหงายให้อยู่ในระดับต่ำสุด

 

วิธีการปรับพนักวางแขน

  • ปรับขึ้น บีบตัวล็อก (A) พร้อมยกพนักวางแขนขึ้น
  • ปรับลง สามารถปรับลงได้เลย ไม่ต้องปลดล็อก

วิธีการปรับพนักพิงหลัง

  • ปรับพับลง บีบตัวล็อก (A) แล้วพับพนักพิงหลังลง
  • ปรับตั้งขึ้น สามารถปรับขึ้นได้เลยไม่ต้องปลดล็อก

ข้อควรระวัง

เมื่อผู้ใช้งานต้องการลุกขึ้น หรือนั่งลง ควร มั่นใจว่าเบรกถูกล็อคแล้ว

ไม่ควรเหยียบที่วางเท้าเมื่อต้องการลุกจากรถเข็น เพราะอาจทำให้รถเข็นล้มไปด้านหน้า

เมื่อต้องการยกรถเข็นขึ้นในขณะที่มีผู้ป่วยนั่งอยู่ ไม่ควรยกมือจับ เพราะพนักพิงหลังเป็นชนิดพับเก็บได้ อาจจะทำให้ส่วนพนักพิงหลังเกิดความเสียหาย
เมื่อผู้ใช้งานต้องการลุกขึ้น หรือนั่งลง ควร มั่นใจว่าเบรกถูกล็อคแล้ว

ไม่ควรเหยียบที่วางเท้าเมื่อต้องการลุกจากรถเข็น เพราะอาจทำให้รถเข็นล้มไปด้านหน้า

เมื่อต้องการยกรถเข็นขึ้นในขณะที่มีผู้ป่วยนั่งอยู่ ไม่ควรยกมือจับ เพราะพนักพิงหลังเป็นชนิดพับเก็บได้ อาจจะทำให้ส่วนพนักพิงหลังเกิดความเสียหาย

เมื่อต้องการเข็นขึ้นพื้นที่ต่างระดับ ผู้ดูแลควรเหยียบบริเวณแกนโลหะ(Tipping bar) และกดน้ำหนักลงที่มือจับ บริเวณด้านหน้าของรถเข็นจะถูกยกขึ้น หลังจากนั้นยกมือจับขึ้น เพื่อยกล้อด้านหลัง

เมื่อต้องการเข็นรถเข็นในบริเวณที่เป็นพื้นที่ลาดชัน ควรมั่นใจว่าผู้ดูแลอยู่บริเวณด้านหลังของรถเข็น เพื่อป้องกันไม่ให้รถเข็นเกิดการพลิกคว่ำ ขณะเข็นขึ้นรถเข็นควรหันหน้าขึ้นตามทาง แต่สำหรับการเข็นลงควรหันหลังรถเข็น เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย