คู่มือการใช้งานเทอร์โมมิเตอร์ รุ่น T14

ลงทะเบียนรับประกันสินค้าออนไลน์ ที่นี่

กรุณาอ่านคู่มือการใช้งานอย่างละเอียดก่อนการใช้งานเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอุณหภูมิร่างกายควรปรึกษาแพทย์

วิธีการใช้งาน

  1. กดปุ่มเปิดเครื่องค้างไว้ 2 วินาที หน้าจอ LCD จะปรากฏขึ้น
  2. เครื่องจะแสดงอุณหภูมิห้องในขณะนั้น (หรือ ขึ้น Lo เมื่ออุณหภูมิห้องต่ำกว่า 32 องศา) แสดงว่าเครื่องพร้อมใช้งาน
  3. กรณีอมใต้ลิ้น : เมื่อวัดอุณหภูมิเสร็จสัญลักษณ์ °C จะหยุดกระพริบ และจะมีเสียง “ปี๊บ” แจ้งเตือน และค่าที่วัดได้จะปรากฏที่หน้าจอ
  4. กรณีหนีบรักแร้ : ควรหนีบค้างไว้นาน 2 นาที เมื่อวัดเสร็จสิ้น สัญลักษณ์ °C จะหยุดกระพริบ  (ห้าม ดึงออกตอนที่มีเสียงปี๊ป เพราะ เสียงนี้มีไว้จับเวลาเฉพาะอมใต้ลิ้นเท่านั้น) 
  5. เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลจะปิดการทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อไม่ได้ใช้งาน 10 นาที หรือสามารถกดปุ่มปิดได้

ส่วนประกอบของเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล

การวัดอุณหภูมิทางรักแร้

ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดใต้รักแร้ก่อนการวัด จากนั้นนำเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลใส่ไว้ตรงกลางใต้รักแร้ และใช้แขนหนีบไว้

การวัดอุณหภูมิทางปาก

ทำการสอดเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลเข้าทางปากไว้ใต้ลิ้น โดยให้เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลอยู่ทางซ้าย หรือทางขวาของโคนลิ้น ใช้ลิ้นกดให้เทอร์โมมิเตอร์อยู่กับที่ และใช้มือประคองเทอร์โมมิเตอร์ไว้เพื่อไม่ให้หลุดออกจากปาก

ควรปิดปากให้สนิทอย่างน้อย 2 นาที ก่อนการวัด

วิธีการใส่หรือเปลี่ยนแบตเตอรี่

เมื่อสัญลักษณ์แบตเตอรี่ปรากฏที่หน้าจอมุมล่างขวา ให้เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

1. ดึงปลอกแบตเตอรี่ออกในแนวตรง

2. ดึงแบตเตอรี่ออกจากตัวเครื่อง ใส่แบตเตอรี่ก้อนใหม่ โดยใช้แบตเตอรี่ขนาด 1.5 โวลต์ (LR41)

3. ดันแบตเตอรี่เข้าไปในตัวเครื่อง ปิดปลอกฝาปิดแบตเตอรี่ สามารถใช้งานได้

ข้อแนะนำทั่วไป

  • ห้ามใช้วัดอุณหภูมิที่นอกเหนือจากอุณหภูมิร่างกาย
  • ห้ามทำเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลหล่น หรือตกกระแทกอย่างรุนแรง
  • ห้ามเก็บเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลใส่กล่องขณะที่ยังชื้น ควรเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าแห้งก่อน
  • ควรวัดอุณหภูมิหลังการออกกำลังกาย อาบน้ำ หรือรับประทานอาหาร อย่างน้อย 30 นาที

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามกัดเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลเพราะอาจทำให้เทอร์โมมิเตอร์เสียหาย และทำให้เกิดอันตรายได้
  2. ไม่ควรใช้เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลร่วมกับผู้อื่น
  3. ห้ามแยกชิ้นส่วน หรือซ่อมเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล เพราะอาจทำให้ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง
  4. ห้ามเผาเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้
  5. ควรวางแบตเตอรี่ให้ตรงขั้ว (+/-) มิฉะนั้นอาจทำให้เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลเสียหาย หรือทำให้เกิดอันตรายได้
  6. ควรถอดแบตเตอรี่ออกเมื่อไม่มีการใช้งานนานเกินกว่า 3 เดือน เพราะอาจทำให้เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลเสียหาย หรือทำให้เกิดอันตรายได้
  7. ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือใกล้เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล
  8. ห้ามใช้เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล ในจุดที่มีไฟฟ้าสถิต หรือสนามแม่เหล็ก เพราะอาจทำให้ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง และเครื่องอาจเสียหายได้
  9. ห้ามเหยียบตัวเครื่อง และปลอกหุ้ม
  10. ห้ามทำความสะอาดเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลโดยการจุ่มลงในแอลกอฮอล์ หรือน้ำร้อน (อุณหภูมิเกิน 50°C)

คำเตือน

  1. หากมีไข้สูง หรือเป็นไข้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะกับเด็กเล็กควรปรึกษาแพทย์
  2. อ่านและปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด เพื่อความถูกต้องในการวัดอุณหภูมิ โดยอุณหภูมิร่างกายสามารถเปลี่ยนแปลงได้หลายปัจจัย รวมถึงการออกกำลังกาย หรือดื่มเครื่องดื่มร้อน หรือเย็นก่อนการวัด และวิธีการวัดด้วย
  3. โปรดอยู่นิ่ง ๆ ขณะการวัดอุณหภูมิ
  4. การอ่านค่าอุณหภูมิร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรคด้วยตัวเองเป็นการกระทำที่อันตราย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัย การวินิจฉัยโรคด้วยตัวเองอาจทำให้โรคที่เป็นอยู่ร้ายแรงยิ่งขึ้น
  5. เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลนี้ใช้วัดอุณหภูมิทางปาก และใต้รักแร้ ไม่ควรใช้วัดในจุดอื่นๆ เพราะอาจทำให้ค่าที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง
  6. ควรเก็บเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลให้พ้นมือเด็ก อย่าปล่อยให้เด็กวัดไข้เพียงลำพัง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้
  7. อย่าวางแบตเตอรี่ ฝาปิดแบตเตอรี่ ไว้ใกล้มือเด็ก เพราะเด็กอาจกลืน หากเด็กกลืนแบตเตอรี่ ให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน
  8. ไม่ควรวัดอุณหภูมิในขณะที่เทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลเปียกน้ำ เพราะอาจทำให้ค่าที่วัดได้ไม่ถูกต้อง

วิธีการดูแลและการเก็บรักษา

ก่อนและหลังการใช้งานควรทำความสะอาดด้วยผ้านุ่ม และแอลกอฮอล์เจือจาง ไม่สามารถล้าง หรือฆ่าเชื้อโดยวิธีการต้ม, การใช้แก๊ส หรือฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ