คู่มือการใช้งานเครื่องดูดเสมหะ รุ่น Askir36 BR

ลงทะเบียนรับประกันสินค้าออนไลน์ ที่นี่

ส่วนประกอบตัวเครื่อง

  1. ขวดดูดเสมหะ
  2. ข้อต่อสายดูดเสมหะ
  3. สายซิลิโคน
  4. สายดูดเสมหะ
  5. ตัวกรองเชื้อแบคทีเรีย

อุปกรณ์ประกอบของเครื่องดูดเสมหะ

ตัวกรองเชื้อแบคทีเรียทำจากวัสดุที่สามารถป้องกันน้ำเสมหะได้  มีไว้สำหรับป้องกันเชื้อแบคทีเรีย และป้องกันน้ำเสมหะไม่ให้เข้าไปในตัวเครื่อง  หากสีของตัวกรองเชื้อแบคทีเรียเปลี่ยนไป หรือมีน้ำเสมหะเข้าไป ให้ทำการเปลี่ยนชิ้นใหม่ทันที เมื่อใช้งานสายดูดเสมหะเสร็จแล้วควรนำไปทิ้ง และเปลี่ยนเส้นใหม่เมื่อจะดูดเสมหะครั้งต่อไป

คำเตือน: ห้ามใช้เครื่องดูดเสมหะเมื่อไม่ได้ต่อตัวกรองเชื้อแบคทีเรีย

ขั้นตอนการต่อสายซิลิโคน

  1. ต่อสายยางซิลิโคนเส้นสั้นเข้ากับตัวเครื่อง (1) ปลายที่เหลืออีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับตัวกรองเชื้อแบคทีเรีย (2) ด้านที่ไม่มีตัวหนังสือ

 

  1. ต่อสายซิลิโคนเส้นสั้นอีกเส้นหนึ่งเข้ากับตัวกรองเชื้อแบคทีเรียด้าน (3) ที่มีตัวหนังสือ
    ที่เขียนว่า IN อีกด้านต่อเข้ากับขวดดูดเสมหะ (4)
  1. ปลายที่เหลืออีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับฝาขวดเก็บเสมหะด้านที่ลูกลอยกันน้ำล้น (a)
  2. ฝาขวดจะเหลือช่องอีก 1 ช่องเป็นด้านที่ไม่มีลูกลอยกันน้ำล้น (c) ให้นำสายซิลิโคนเส้นยาวมาต่อ
  3. ปลายสายซิลิโคนเส้นยาวด้านที่เหลือต่อเข้ากับข้อต่อสายดูดเสมหะ (b) และปลายข้อต่อสายดูดเสมหะอีกด้านหนึ่งให้ต่อเข้ากับสายดูดเสมหะที่สอดเข้าไปดูดเสมหะในลำคอผู้ป่วย

ขั้นตอนการใช้งานเครื่องดูดเสมหะ

  1. เสียบสายไฟเข้ากับตัวเครื่องและเสียบปลั๊กไฟเข้าเต้ารับของไฟบ้าน (ไฟฟ้า220V/50Hz)

 

  1. กดสวิตช์ไปที่ตำแหน่ง (1) เพื่อให้เครื่องเริ่มทำงาน

 

  1. ทำการปรับแรงดูด ใช้มืออุดที่ข้อต่อสายดูดเสมหะปลายสายซิลิโคนเส้นยาวโดยหมุนสวิตช์ (2) ให้อยู่ที่ประมาณ (-0.4 bar)

การทำความสะอาดอุปกรณ์

  1.  หมุนฝาขวดเก็บเสมหะในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา แล้วเปิดฝาออก ถอดลูกลอยสำหรับกันน้ำล้น (1) (ตัวสีแดง) ซึ่งอยู่ใต้ฝาขวดเก็บเสมหะออกจากนั้นใช้แอลกอฮอล์ หรือใช้น้ำยาโซเดียมไฮโปร-คลอไรด์ในการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์
  2. ล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วผึ่งลมให้แห้ง (ห้ามตากแดด) และประกอบลูกลอยกลับเข้าที่เดิม
  3. เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาดขวดเก็บเสมหะ ควรดูดน้ำสะอาดลงไปในขวดเก็บเสมหะประมาณ 1 แก้ว ก่อนที่จะมีการใช้เครื่องดูดเสมหะกับผู้ป่วย

ขวดและฝาขวดเก็บเสมหะสามารถฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธี Autoclave ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส (แรงดันที่ใช้ 1 bar) ได้  หลังจากทำการฆ่าเชื้อโดยวิธี Autoclave แล้ว ให้ตรวจสอบขวดและฝาขวดเก็บเสมหะว่ามีรอยชำรุดเสียหายหรือไม่  หากเกิดความเสียหายให้เปลี่ยนใหม่ทันที สำหรับสายซิลิโคน และข้อต่อสายดูดเสมหะของเครื่องดูดเสมหะสามารถฆ่าเชื้อโรคโดยวิธี Autoclave ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ได้เช่นเดียวกัน

คำเตือน: ห้ามนำตัวกรองเชื้อแบคทีเรียไปล้างน้ำทำความสะอาด หรือไปทำความสะอาดโดยวิธี Autoclave

ข้อควรระวังในการใช้งาน 

  1. เมื่อเสร็จสิ้นการดูดเสมหะแล้วให้กดสวิตช์มาที่ตำแหน่ง O เครื่องจะหยุดการทำงาน จากนั้นให้ถอดปลั๊กออกจากเต้ารับของไฟบ้าน และถอดอุปกรณ์ต่างๆออกจากเครื่องดูดเสมหะ นำเสมหะไปเททิ้ง แล้วทำความสะอาดอุปกรณ์ตามวิธีข้างต้น

  2. ก่อน และหลังการดูดเสมหะควรดูดน้ำสะอาดลงไปในขวดประมาณ 1 แก้ว (เพื่อสะดวกในการทำความสะอาดขวดและสายดูดเสมหะ)

  3. เมื่อดูดเสมหะไม่ควรดูดเสมหะเกินครึ่งขวด เนื่องจากในน้ำเสมหะอาจจะมีฟองน้ำลาย ทำให้ฟองเหล่านี้อาจเข้าไปยังตัวกรองเชื้อแบคทีเรีย และต้องเปลี่ยนตัวกรองเชื้อแบคทีเรียบ่อยๆ นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันการสะสมของเชื้อโรคที่อาจทำอันตรายกับผู้ป่วยด้วย

การบำรุงรักษาและการตรวจสอบเบื้องต้น

  1. เครื่องดูดเสมหะ ASKIR 36BR ไม่จำเป็นต้องหล่อลื่นส่วนต่างๆของเครื่อง เพียงแต่ก่อนการใช้เครื่องให้ตรวจสอบการทำงาน และสภาพเครื่องว่ามีความชำรุดเสียหายหรือไม่
  2. ก่อนเริ่มใช้งานให้ตรวจสอบทุกๆส่วนที่เป็นพลาสติกก่อนว่ามีรอยแตก หรือมีการชำรุดเสียหายหรือไม่ จากนั้นให้ตรวจสายซิลิโคนว่ามีรอยฉีกขาด หรือมีรูรั่วหรือไม่ ก่อนที่จะเสียบปลั๊กไฟของเครื่องเข้ากับเต้ารับของไฟบ้าน (ไฟฟ้า220V/50Hz)

การแก้ไขอาการเสียเบื้องต้น

– เมื่อระบบป้องกันน้ำล้นทำงาน (ลูกลอยกันน้ำล้นที่อยู่ใต้ฝาปิดสนิท) เครื่องจะไม่สามารถดูดเสมหะได้ (โดยสังเกตที่เกจวัดแรงดูดของเครื่องจะอยู่ที่มากกว่าหรือเท่ากับ -0.80 bar ในกรณีที่ปรับแรงดูดสูงสุด)

– ถ้าระบบป้องกันน้ำล้นไม่ทำงาน (ลูกลอยกันน้ำล้นที่อยู่ใต้ฝาปิดไม่สนิท) จะเกิดเหตุการณ์ดังนี้ คือ น้ำเสมหะจะถูกกั้นไว้โดยตัวกรองเชื้อแบคทีเรียเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเสมหะเข้าสู่ตัวเครื่องดูดเสมหะ