คู่มือการใช้งานที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ รุ่น AD-1200

ลงทะเบียนรับประกันสินค้าออนไลน์ ที่นี่

ส่วนประกอบของที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ

วิธีการใช้งานที่นอนลม

*ตรวจสอบเบาะที่นอนเดิมว่ามีสปริง หรือส่วนมีคมหรือไม่ ถ้ามีควรเปลี่ยนเบาะที่นอน เพื่อป้องกันที่นอนลมรั่ว*

  1. วางเครื่องปั๊มลมลงบนพื้นเรียบ หรือแขวนเครื่องปั๊มลมบริเวรปลายเตียงผู้ป่วย เพื่อให้เครื่องปั๊มลมตั้งอยู่อย่างมั่นคง
  2.  วางแผ่นที่นอนลมบนเบาะที่นอนเดิม โดยจัดวางให้ปลายสายแรงดันลมตรงส่วนที่โผล่ออกจากแผ่นที่นอนลม อยู่ในตำแหน่งปลายเตียงใกล้เครื่องปั๊มลม
  3. สอดชายผ้าของแผ่นที่นอนลมลงใต้ที่นอนผู้ป่วยทั้งด้านศีรษะ และปลายเท้า
  4. เสียบสายแรงดันลมเข้ากับช่องเสียบสายแรงดันลมให้แน่น
  5. เสียบปลั๊กไฟของเครื่องปั๊มลมเข้ากับไฟบ้าน และควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายไฟต่อแน่น เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
  6. เปิดเครื่องปั๊มลมโดยกดสวิตซ์เปิด / ปิด ด้านหน้าเครื่อง
  7. ปรับแรงดันลมโดยหมุนปุ่มปรับแรงดันลมไปที่ตำแหน่งสูงสุด (MAX)
  8. รอให้เครื่องปั๊มลมปล่อยแรงดันลมเข้าไปในแผ่นที่นอนลมประมาณ 20 – 30 นาที เพื่อให้ลมเต็มที่นอนลม
  9. ปูผ้าคลุมลงบนที่นอนลม สอดชายผ้าปูเข้าใต้ที่นอนผู้ป่วย รัดสายคาดด้านใต้ที่นอนลม เพื่อล็อคผ้าคลุมให้อยู่กับแผ่นที่นอน
  10. ให้ผู้ป่วยนอนลงบนที่นอนลม จากนั้นปรับแรงดันให้เหมาะสม ตรวจสอบโดยการสอดมือเข้าระหว่างท่อลมในส่วนที่ยุบตัวลงกับบั้นท้ายผู้ป่วย ถ้าสอดเข้าพอดีแสดงว่าแรงดันลมในที่นอนลมเหมาะสม ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายตัว
  11. ที่นอนลมจะสลับกันพองตัวและยุบตัวไปเรื่อย ๆ ใช้เวลาในการพองตัวและยุบตัวแต่ละครั้งนาน 5 นาที โดยเครื่องปั๊มลมสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
  12. หากต้องการหยุดใช้งาน สามารถปิดเครื่องปั๊มโดยกดสวิตซ์เปิด / ปิด
  13. ถอดปลั๊กไฟของเครื่องปั๊มลมออกจากไฟบ้าน ถอดสายแรงดันลมออกจากเครื่องปั๊มลมเพื่อปล่อยลมออกจากที่นอนลม
  14. ม้วนหรือพับแผ่นที่นอนลม เริ่มต้นจากส่วนหัวเตียงไปยังส่วนปลายเตียง จากนั้นเก็บแผ่นที่นอนลมและเครื่องปั๊มลมในกล่องบรรจุที่เหมาะสม

กรณีฉุกเฉินที่จะต้องทำ CPR

  1. ดึงปุ่ม CPR ที่อยู่บริเวณศีรษะด้านขวามือของผู้ป่วย
  2. เมื่อมีการดึง CPR ที่นอนลมจะปล่อยลมออกอย่างรวดเร็ว พยาบาลจะสามารถทำ CPR ได้ทันที

วิธีการทำความสะอาดที่นอนลม

  1. ก่อนทำความสะอาดต้องถอดปลั๊กไฟของเครื่องปั๊มลมทุกครั้ง
  2. ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น และน้ำสบู่อ่อน ๆ บิดหมาด ๆ และเช็ดเบา ๆ บริเวณที่นอนลม ถ้าในกรณีที่มีรอยเปื้อนมาก เช่น คราบเลือด หรือปัสสาวะให้ใช้สารละลายโซเดียม ไฮโปรคลอไรด์ ในอัตราส่วน 1000 ppm ในการทำความสะอาด เพื่อฆ่าเชื้อโรค

*ห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฟีนอล หรือสารไฮเปอร์คาร์บอเนตในการทำความสะอาดเครื่องปั๊มลมและแผ่นที่นอนลม

**ห้ามฉีดพ่นหรือเทน้ำยาทำความสะอาดลงบนตัวเครื่องปั๊มลมโดยตรง

วิธีการเก็บรักษาที่นอนลม

เก็บในที่แห้ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก และไม่ถูกแสงแดด

ข้อควรระวังในการใช้ที่นอนลม

  1. อ่านคำแนะนำวิธีการใช้งานโดยละเอียดก่อนใช้งานเครื่อง
  2. ต้องถอดปลั๊กไฟออกทุกครั้งก่อนทำความสะอาดเครื่อง
  3. แนะนำให้ใช้เตียงผู้ป่วยชนิดที่มีราวข้างเตียง เพื่อไม่ให้ที่นอนลมเคลื่อนออกจากที่นอนผู้ป่วย
  4. ระวังอย่าให้สายแรงดันลมบิดหรือพับ เพื่อให้แรงดันลมเข้าที่นอนลมอย่างสม่ำเสมอ
  5. ไม่ควรให้แผ่นที่นอนลมอยู่ใกล้กับความร้อน เช่น เปลวไฟ หรือบุหรี่ เนื่องจากทำให้แผ่นที่นอนลมเสียหายได้
  6. ควรจัดวางให้เครื่องปั๊มลมอยู่ห่างจากของเหลวทุกชนิด เนื่องจากความชื้นจะทำอันตรายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  7. ห้ามวางวัสดุมีคม หรือผ้าห่มไฟฟ้าบนหรือใต้แผ่นที่นอนลม
  8. ห้ามปูแผ่นที่นอนลมลงบนเตียงผู้ป่วย โดยไม่มีที่นอนวางอยู่ก่อน
  9. ห้ามใช้ที่นอนลมในบริเวณที่มีก๊าซซึ่งสามารถติดไฟได้
  10. หากต้องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่นอนลม ควรปิดสวิตซ์เครื่อง, ถอดปลั๊กไฟ และถอดสายท่อลมออกจากตัวเครื่องปั๊มลม รอจนที่นอนแฟบ แล้วจึงทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
  11. ตรวจสอบปุ่ม CPR ให้ปิดอยู่เสมอก่อนใช้งาน