คู่มือการใช้งานเครื่องวัดความดัน ALLWELL รุ่น SmartBP Care

ลงทะเบียนรับประกันสินค้าออนไลน์ ที่นี่

ตัวเครื่อง

หน้าจอแสดงผล

ผ้าพันแขนและการต่อสายท่ออากาศ

ผ้าพันแขนมีขนาดสากล สำหรับต้นแขนขนาด 22-36 cm. (9-17 นิ้ว)

ต่อสายท่ออากาศของผ้าพันแขน กับช่องเสียบซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายของตัวเครื่อง ตามภาพ (ซึ่งสามารถใช้ได้เฉพาะผ้าพันแขนที่ให้มาเท่านั้น ไม่ควรเปลี่ยนเป็นของแบรนด์อื่น)

แบตเตอรี่

1. การใส่แบตเตอรี่

– ถอดฝาครอบแบตเตอรี่ออก ตามภาพ

– ใส่แบตเตอรี่ AAA จำนวน 4 ก้อนเข้าไปในช่อง และตรวจสอบให้แต่ละก้อนอยู่ในทิศทางที่ถูกต้อง

2. แบตเตอรี่ต่ำและการเปลี่ยนแบตเตอรี่

เมื่อเปิดเครื่อง และเมื่อเครื่องเริ่มทำงานหน้าจอจะแสดงสัญลักษณ์แบตเตอรี่ต่ำ    ต้องทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ มิฉะนั้นเครื่องจะไม่สามารถทำงานได้

3. ประเภทของแบตเตอรี่และการแทนที่.

ใช้แบตเตอรี่อัลคาไลน์ AAA 1.5V 4 ก้อน ห้ามใช้แบตเตอรี่ที่หมดอายุ กรุณาถอดแบตเตอรี่ออกหากไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน

การตั้งค่า

1. ตั้งค่าผู้ใช้งาน

กดปุ่ม SET ขณะปิดเครื่อง หน้าจอจะแสดง หรือ      กดปุ่ม MEM เพื่อจะเปลี่ยนระหว่าง และ     กดปุ่ม SET เมื่อคุณยืนยันผู้ใช้งาน
จากนั้นจะเข้าสู่โหมดการตั้งค่าปีต่อไป

2. ตั้งค่าปี

ดำเนินการต่อจากการตั้งค่าข้อที่ผ่านมา หน้าจอจะแสดงและกะพริบ 20XX เมื่อกดปุ่ม MEM แต่ละครั้ง ตัวเลขหลักสุดท้ายของจะเพิ่มขึ้นทีละ 1 โดยสามารถเลือกได้ตั้งแต่ปี 2022 ถึง 2099 แล้วกดปุ่ม SET เพื่อยืนยันการตั้งค่า เครื่องจะเข้าสู่โหมดการตั้งค่าเดือนและวันที่ต่อไป

3. การตั้งค่าเดือนและวันที่

ดำเนินการต่อจากการตั้งค่าข้อที่ผ่านมา หน้าจอจะแสดงและกะพริบ XXXX และ XX/XX ตามลำดับ กดปุ่ม MEM เพื่อเลือกเดือนตั้งแต่ 1 ถึง 12 แล้วกดปุ่ม SET เพื่อยืนยันการตั้งค่า

จากนั้นตั้งค่าวันที่ เช่นเดียวกับการตั้งค่าเดือน กดปุ่ม MEM เพื่อเลือกวันตั้งแต่ 01 ถึง 31 แล้วกดปุ่ม SET เพื่อยืนยันการตั้งค่า เครื่องจะเข้าสู่โหมดตั้งค่าเวลา

4. การตั้งค่าเวลา

ดำเนินการต่อจากการตั้งค่าข้อที่ผ่านมา หน้าจอจะแสดงและกะพริบ XX:XX และ XX/XX ตั้งค่าชั่วโมงโดยกดปุ่ม MEM เพื่อเลือกตั้งแต่ 0 ถึง 23 กดปุ่ม SET เมื่อยืนยันการตั้งค่า

จากนั้นตั้งค่านาที เช่นเดียวกับการตั้งค่าชั่วโมง กดปุ่ม MEM เพื่อเลือกตัวเลขจาก 00 ถึง 59 กดปุ่ม SET เพื่อยืนยันการตั้งค่า จากนั้นโหมดการตั้งค่าทั้งหมดจะเสร็จสิ้น

การใช้งานเครื่องอย่างเหมาะสม

การวัด

ก่อนทำการวัด

  • พักประมาณ 5- 10 นาทีก่อนการวัด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ออกกำลังกาย และอาบน้ำเป็นเวลา 30 นาทีก่อนทำการวัด ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้จะส่งผลต่อผลการวัด
  • นำเสื้อผ้าออกจากบริเวณต้นแขนที่จะทำการวัด
  • วัดความดันที่แขนข้างเดียวกันเสมอ (แนะนำเป็นด้านซ้าย)
  • ทำการวัดอย่างสม่ำเสมอในเวลาเดียวกันของทุกวันเนื่องจากความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงได้แม้ในระหว่างวัน

ปัจจัยทั่วไปที่ทำให้ค่าการวัดไม่ถูกต้อง

  • ความพยายามของผู้ป่วยในการพยุงแขน สามารถทำให้ความดันเพิ่มขึ้นได้
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในท่าที่สบายและผ่อนคลาย และไม่ทำการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณแขนที่ทำการวัด ในขณะที่อยู่ระหว่างการวัด สามารถใช้เบาะรองนั่งเพื่อรองรับได้หากจำเป็น
  • หากหลอดเลือดแดงที่แขนอยู่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าหัวใจ อาจทำให้การอ่านค่ามีความผิดพลาดได้

เพิ่มเติม:

  • ใช้ผ้าพันแขนที่ผู้ผลิตให้มาเท่านั้น การใช้เปลี่ยนผ้าพันแขนของผู้ผู้ผลิตรายอื่น อาจทำให้ผลการวัดคลาดเคลื่อนได้
  • ผ้าพันแขนที่หลวมหรือแน่นเกินไป อาจทำให้ผลการวัดผิดพลาดได้
  • การวัดซ้ำๆ อาจทำให้เลือดสะสมบริเวณแขน ซึ่งอาจนำไปสู่ผลการวัดที่ผิดพลาด ควรวัดความดันโลหิตซ้ำหลังจากหยุดพัก 1 นาที หรือหลังจากยกแขนขึ้น เพื่อให้เลือดที่สะสมไหลเวียนเป็นปกติ

การใส่ผ้าพันแขน

1. วางผ้าพันแขนไว้บนโต๊ะโดยหันด้านที่เป็นตีนตุ๊กแกลง สอดปลายผ้าพันแขนผ่านห่วงโลหะให้เป็นวงกลม แล้วหันด้านที่มีตีนตุ๊กแก (ข้ามขั้นตอนนี้ได้ หากผ้าพันแขนมีการเตรียมไว้แล้ว)
2. พันผ้าพันแขนที่ต้นแขนซ้าย โดยให้สายท่ออากาศหันไปทางปลายแขน
3. พันผ้าพันแขน ตามที่แสดงในภาพรูปภาพ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าระยะห่างระหว่างข้อพับและสายท่ออากาศบนผ้าพันแขนมีระยะประมาณ 2-3 เซนติเมตร. (1 นิ้ว)
4. กระชับปลายผ้าพันแขน แล้วปิดผ้าพันแขนกับตีนตุ๊กแก
5. ผ้าพันแขนควรแนบกระชับพอดีกับต้นแขน โดยต้องเหลือพื้นที่ระหว่างผ้าพันแขนและต้นแขนให้สามารถใส่ 2 นิ้วได้ และหากแขนเสื้อรัดที่แขนจะต้องถอดออก
6. ติดกับตีนตุ๊กแก โดยให้รู้สึกสบายและไม่แน่นจนเกินไป วางแขนบนโต๊ะ (หงายฝ่ามือขึ้น) ให้ผ้าพันแขนมีความสูงเท่ากับหัวใจ และอย่าให้ท่อสายอากาศงอ
เพิ่มเติม :

หากไม่สามารถสวมผ้าพันแขนที่แขนซ้ายได้ ก็สามารถสวมที่แขนขวาได้ อย่างไรก็ตาม ในการวัดควรใช้แขนข้างเดียวกัน

ขั้นตอนการวัด

หลังจากที่ผ้าพันแขนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว สามารถเริ่มต้นการวัดได้ตามขั้นตอน ดังนี้

 1. กดปุ่ม START/STOP สัญลักษณ์ทั้งหมดจะปรากฏบนจอแสดงผลเป็นเวลา 1 วินาที เข้าสู่โหมด “auto zero”  หน้าจอมันจะแสดง “0” และกะพริบเป็นเวลา 2 วินาที ปั๊มลมจะเริ่มทำงาน จากนั้นผ้าพันแขนจะเริ่มพอง โดยแรงดันที่เพิ่มขึ้นในผ้าพันแขน จะแสดงบนจอแสดงผล
 2. หลังจากได้แรงดันที่เหมาะสมแล้ว ปั๊มจะหยุดและแรงกดจะค่อยๆ ลดลง แรงดันที่ลดลงในผ้าพันแขน จะแสดงบนจอแสดงผลในกรณีที่แรงดันไม่เพียงพอ อุปกรณ์จะพองตัวอีกครั้งโดยอัตโนมัติให้มีแรงดันสูงขึ้น
 3. เมื่อเครื่องตรวจพบสัญญาณชีพจร

จะแสดงสัญลักษณ์ พร้อมกับกะพริบ

 4. เมื่อวัดเสร็จแล้ว systolic, diastolic และชีพจรจะปรากฏบนจอแสดงผล
 5. ค่าที่วัดได้จะยังคงอยู่บนจอแสดงผลจนกระทั่งคุณปิดอุปกรณ์ หากไม่มีการกดปุ่มใดๆเป็นเวลา 3 นาที อุปกรณ์จะปิดตัวเอง เพื่อประหยัดพลังงาน

หมายเหตุ: สัญลักษณ์  จะแสดงพร้อมกับการอ่านหาก ตรวจพบการเต้นของหัวใจผิดปกติระหว่างการวัด

ยุติการวัดความดันโลหิต

หากจำเป็นต้องหยุดการวัดความดันโลหิตด้วยเหตุผลใดๆ (เช่น ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบาย) สามารถกดปุ่ม START/STOP ได้ตลอดเวลา เครื่องจะลดแรงดันที่ผ้าพันแขนโดยอัตโนมัติทันที

หน่วยความจำ-เรียกดูผลการวัด

เครื่องวัดความดันโลหิตนี้จะจัดเก็บข้อมูล 2×90 ค่า โดยอัตโนมัติ
ค่าการวัดล่าสุดจะถูกบันทึกแทนที่ค่าการวัดที่เก่าที่สุด หากมีการบันทึกค่ามากกว่า 90 ค่า ของผู้ใช้งานแต่ละคน

การดูค่าที่บันทึกไว้

กดปุ่ม MEM ขณะเครื่องถูกปิด จะแสดงค่าเฉลี่ย 3 ครั้งล่าสุด กดปุ่ม MEM อีกครั้ง จะแสดงค่าการวัดครั้งสุดท้าย และกดปุ่ม MEM เพื่อดูค่าการวัดครั้งต่อๆไป โดยจะแสดงทีละรายการ

หน่วยความจำ – การลบค่าที่บันทึก

หากต้องการลบค่าที่บันทึกไว้ทั้งหมดอย่างถาวร กดปุ่ม SET ขณะเครื่องปิด จนกระทั่งสัญลักษณ์ CL ปรากฏขึ้น แล้วกดปุ่ม START/STOP
สัญลักษณ์ CL จะกะพริบ 3 ครั้งเพื่อล้างค่าที่บันทึกไว้ทั้งหมด
หลังจากนั้น เมื่อกดปุ่ม MEM หน้าจอจะแสดง “no” ซึ่งหมายความว่าไม่มีค่าการวัดที่บันทึกไว้

สัญลักษณ์ต่อไปนี้ จะปรากฏบนจอแสดงผลเมื่อทำการวัดค่าผิดปกติ

สัญลักษณ์
สาเหตุ
การแก้ไข
สัญญาณอ่อนหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงแรงดันอย่างกะทันหันไม่อยู่ในขอบเขตที่บ่งบอกความดันสูง พันผ้าพันแขนให้เรียบร้อยด้วยวิธีที่ถูกต้อง
ได้รับการรบกวนจากภายนอก
  • เมื่ออยู่ใกล้โทรศัพท์มือถือหรือรังสีสูงอื่นๆอุปกรณ์การวัดจะทำงานล้มเหลว
  • ไม่พูดคุยขณะทำการวัด
เกิดข้อผิดพลาดขณะผ้าพันแขนพอง พันผ้าพันแขนให้เรียบร้อยตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายท่ออากาศกับเครื่องอย่างถูกต้อง และทำการวัดอีกครั้ง
ความดันโลหิตผิดปกติ ทำการวัดซ้ำหลังจากผ่อนคลายเป็นเวลา 30 นาที หากได้รับอ่านค่าผิดปกติ 3 ครั้ง โปรดติดต่อแพทย์
แบตเตอรี่ต่ำ เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น

ปัญหา
ตรวจสอบ
สาเหตุและแนวทางแก้ไข

ไม่มีพลังงาน

  • ตรวจสอบแบตเตอรี่
  • ตรวจสอบตำแหน่งขั้วไฟฟ้า
  • เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
  • วางตำแหน่งขั้วแบตเตอรี่อย่างถูกต้อง

ไม่มีการพองของผ้าพันแขน

  • ไม่ได้เสียบสายท่ออากาศ
  • สายท่ออากากาศขาดหรือชำรุด
  • เสียบสายท่ออากาสให้แน่น
  • เปลี่ยนผ้าพันแขนใหม่

การผิดพลาดและหยุดการทำงาน

  • มีการขยับแขนขณะทำการวัด
  • มีการพูดคุยขณะทำการวัด
  • อยู่นิ่งๆขณะทำการวัด
  • ไม่พูดคุยขณะทำการวัด
ผ้าพันแขนรั่ว
  • ผ้าพันแขนหลวมเกินไป
  • ผ้าพันแขนแตก
  • พันผ้าพันแขนให้แน่น
  • เปลี่ยนผ้าพันแขนใหม่

การบำรุงรักษา

  • เก็บเครื่องวัดความดัน เมื่อไม่ได้ใช้งาน
  • เพื่อป้องกันเครื่องวัดความดันเสียหาย กรุณาปฏิบัติดังต่อไปนี้

✖ ไม่นำเครื่องวัดความดันและผ้าพันแขนไว้ในที่ที่อุณหภูมิสูง มีความชื้น หรือโดนแสงแดดโดยตรง

✖ ไม่พับผ้าพันแขนหรือท่อแน่นเกินไป

✖ อย่าให้เครื่องได้รับแรงกระแทกหรือการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง เช่น ทำเครื่องหล่นลงพื้น เป็นต้น

✖ อย่าใช้ของเหลวที่ระเหยได้ในการทำความสะอาดตัวเครื่อง ควรทำความสะอาดตัวเครื่องและแบตเตอรี่ด้วย ผ้าแห้งเนื้อนุ่ม

✖ อย่าซักผ้าพันแขนหรือแช่ในน้ำ หากจำเป็นให้ทำความสะอาดผ้าพันแขนด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 75%

  • การตกหล่น การชน การงอ จะทำให้ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลดลง หากพบว่าแบตเตอรี่มีความผิดปกติ เช่น บรรจุภัณฑ์เสียหาย แบตเตอรี่ผิดรูป ไม่ควรนำมาใช้
  • การทิ้งเครื่องวัดความดันและแบตเตอรี่โดยตรง จะก่อให้เกิดมลพิษและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ควรดำเนินการตามข้อกำหนดสำหรับการทิ้งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์