การเตรียมตัวก่อนการวัดความดันโลหิต
เพื่อให้ได้ค่าวัดที่แม่นยำ กรุณาทำตามคำแนะนำต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการวัดความดันหลังจากรับประทานอาหาร, ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, สูบบุหรี่ และหลังจากออกกำลังกาย อย่างน้อย 30 นาที
- ควรใช้ผ้าพันแขนที่ต้นแขนซ้าย และระหว่างการวัดควรนั่งนิ่ง ๆ
วิธีการใส่แบตเตอรี่
แบบที่ 1 พลิกไปที่ด้านหลังของเครื่องวัดความดัน เปิดฝาช่องใส่แบตเตอรี่ตามทิศทางของลูกศร นำแบตเตอรี่ (ถ่าน AA 1.5V) จำนวน 4 ก้อน ใส่ให้ตรงตามขั้ว จากนั้นจึงปิดฝาครอบ
แบบที่ 2 สามารถชาร์จด้วยอแดปเตอร์ AC 5V-1A โดยการเสียบที่ช่อง Micro USB ทางด้านข้างของตัวเครื่อง
วิธีการวัดค่าความดันโลหิต
1. กดปุ่มเปิด/ปิด เครื่องจะเริ่มทำงาน และผ้าพันแขนจะพองโดยอัตโนมัติ
2. เครื่องวัดความดันจะทำการบีบรัดที่ต้นแขน ผ้าพันแขนจะพองตัวเต็มที่ หลังจากนั้นจะทำการวัดค่าชีพจร (อยู่นิ่งจนกว่าการวัดจะเสร็จสมบูรณ์ ถ้าขึ้นข้อความผิดพลาด กรุณาดูหัวข้อการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น)
3. เมื่อทำการวัดเสร็จสมบูรณ์ หน้าจอจะแสดงค่าความดันโลหิต (systolic, diastolic) และชีพจร ถ้ามีความดันซิสโตลิกมากเกินไป จะแสดงสัญลักษณ์หัวใจเต้นผิดปกติ
4. ถ้าต้องการหยุดการวัดค่า ให้กดปุ่มเปิด/ปิด เครื่องวัดความดันจะหยุดการทำงาน
5. ภายหลังการวัดนำผ้าพันแขนออกและกดปุ่ม เครื่องจะปิดหรือถ้าเครื่องไม่มีการใช้งานภายใน 30 วินาทีจะปิดเครื่องอัตโนมัติ (สำหรับไฟหน้าจอถ้าไม่มีการใช้งานจะดับภายใน 6 วินาที)
*การวัดค่าที่ถูกต้อง เมื่อทำการวัดโปรดนิ่งและผ่อนคลาย
– วางแขนบนโต๊ะ
– วางแขนในระดับเดียวกันกับหัวใจ
– หงายมือขึ้นและผ่อนคลาย
วิธีการตั้งค่าในการใช้งาน
-
การเปลี่ยนผู้ใช้งาน
เมื่อเครื่องวัดความดันอยู่ในโหมดปิดเครื่อง กดปุ่มตั้งค่าเพื่อสลับผู้ใช้งาน เมื่อเลือกผู้ใช้งานเสร็จสมบูรณ์ กดปุ่มเปิด/ปิด เพื่อจัดเก็บการตั้งค่า
-
การตั้งค่าวันที่ / เวลา / สัญญาณแจ้งเตือน
1. เมื่อเครื่องวัดความดันอยู่ในโหมดปิดเครื่อง ให้กดปุ่มตั้งค่า SET ค้างไว้ หน้าจอจะแสดงการกะพริบที่ตำแหน่งปี (ค.ศ.) กดปุ่มบันทึกค่า MEM เพื่อเปลี่ยนปี (ค.ศ.) ตามต้องการ ทำแบบเดิมซ้ำ ในตำแหน่งเดือน วันที่ และเวลา
2. การตั้งค่ารูปแบบเวลา ให้กดปุ่มตั้งค่า SET หน้าจอจะแสดงรูปแบบเวลา ซึ่งมี 2 แบบ คือแบบ 12 ชั่วโมง (ช่วงบ่ายจะแสดง PM) และแบบ 24 ชั่วโมง (หากตั้งค่าแบบ 24 ชั่วโมงจะไม่แสดง PM) จากนั้นกดปุ่มบันทึกค่า MEM เพื่อเปลี่ยนรูปแบบเวลาตามต้องการ
3. ในการเปิด/ปิดระบบเสียง ให้กดปุ่มตั้งค่า SET หน้าจอจะแสดงสัญลักษณ์ SP กดปุ่มบันทึกค่า MEM เพื่อตั้งค่าระบบเสียง On (เปิด) หรือ Off (ปิด) ตามต้องการ
4. สามารถตั้งเวลาปลุก เพื่อให้วัดความดันได้ โดยกดปุ่มตั้งค่า SET หน้าจอจะแสดงการกะพริบเวลา กดปุ่มบันทึกค่า MEM เพื่อตั้งค่าเวลาสำหรับการตั้งปลุก
5.สามารถตั้งเสียงในการปลุกให้มีหรือไม่มีเสียงได้ โดยกดปุ่มตั้งค่า SET หน้าจอจะแสดงสัญลักษณ์การแจ้งเตือน (รูปกระดิ่ง) จากนั้นกดปุ่มบันทึกค่า MEM เพื่อตั้งค่า
-
การเปลี่ยนหน่วยการวัด
กดปุ่มเปิด/ปิดค้างไว้ 15 วินาที จะเปลี่ยนหน่วยระหว่าง mmHg (มิลลิเมตรปรอท) กับ kPa (กิโลปาสคาล) หน้าจอ LCD จะปรากฏขึ้น 0.0 kPa แสดงว่าการตั้งค่าสำเร็จ กดปุ่มเปิด/ปิด เพื่อจัดเก็บการตั้งค่า
-
วิธีการดูค่าที่บันทึก
1. กดปุ่มบันทึกค่า MEM สัญลักษณ์ AVG & MR จะปรากฏขึ้น หลังจากนั้นจะแสดงค่าเฉลี่ยจากการวัดความดันโลหิต 3 ครั้งล่าสุด (เมื่อหน่วยความจำมีมากกว่า 3 ครั้ง)
2. กดปุ่มบันทึกค่า MEM ครั้งที่สอง สัญลักษณ์ MR จะปรากฏ แสดงค่าการวัดความดันโลหิตที่บันทึกไว้ครั้งที่ 1
3. เมื่อต้องการอ่านค่าที่บันทึกไว้เป็นลำดับถัดไป ให้กดปุ่มบันทึกค่า MEM เพื่ออ่านค่าไปเรื่อย ๆ
-
วิธีการลบค่าที่บันทึก
กดปุ่มบันทึกค่า MEM ค้างไว้ จากนั้นกดปุ่มเปิด/ปิดพร้อมกัน ประมาณ 2 วินาที หน้าจอจะแสดงสัญลักษณ์ — หมายถึงการลบหน่วยความจำเสร็จสิ้น ค่าทั้งหมดที่เก็บไว้ในหน่วยความจำจะถูกลบ (ไม่สามารถลบค่าเพียงบางส่วนได้ ค่าจะถูกลบออกทั้งหมด
การใช้งานผ้าพันแขน (arm cuff)
1. สวมผ้าพันแขนให้กระชับรอบต้นแขนด้านซ้าย โดยวางผ้าพันแขนไว้ด้านบน ให้ตำแหน่งของท่ออากาศอยู่ด้านข้างของแขน
2. ขอบด้านล่างของผ้าพันแขน ควรอยู่เหนือระดับข้อศอกประมาณ 2-3 cm
ข้อควรระวัง
- รอ 2-3 นาที ก่อนทำการวัดความดันโลหิตอีกครั้ง จะช่วยให้หลอดเลือดแดงกลับสู่สภาพเริ่มต้น การวัดซ้ำอาจทำให้ค่าผิดพลาดได้
- ไม่สามารถกดวัดค่าได้เมื่อขึ้นสัญลักษณ์ Err ปรากฏที่หน้าจอ กรุณาอ่านการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
- การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ สามารถส่งผลต่อผลลัพธ์ของการวัดได้ ค่าการวัดอาจไม่แม่นยำ โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณเพื่อทำการวินิจฉัย
- ผ้าพันแขนที่หลวมหรือแน่นเกินไป จะส่งผลต่อความแม่นยำของค่าการวัด
- การเปลี่ยนผ้าพันแขนที่ไม่ใช่ของผู้ผลิต อาจเสี่ยงต่อข้อผิดพลาดในการวัด
- อย่าใช้เครื่องวัดความดันใกล้กับเครื่องที่ปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน หรือมีสัญญาณรบกวนจากคลื่นวิทยุ อาจส่งผลต่อความแม่นยำ
- หากเปลี่ยนอแดปเตอร์ AC และแบตเตอรี่ลิเธียม ที่ไม่ใช่ของผู้ผลิต อาจทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยหรือปัญหาด้านความแม่นยำ อแดปเตอร์ AC เป็นไปตามมาตรฐาน IEC60601-1: 1988 แบตเตอรี่ใช้กับมาตรฐาน IEC60086-4: 2014 แบตเตอรี่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของเครื่อง โปรดติดต่อผู้ผลิต หากคุณต้องการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลิเธียม
การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
การบำรุงรักษา
- เก็บเครื่องวัดความดัน เมื่อไม่ได้ใช้งาน
- เพื่อป้องกันเครื่องวัดความดันเสียหาย กรุณาปฏิบัติดังต่อไปนี้
✖ ไม่นำเครื่องวัดความดันและผ้าพันแขนไว้ในที่ที่อุณหภูมิสูง มีความชื้น หรือโดนแสงแดดโดยตรง
✖ ไม่พับผ้าพันแขนหรือท่อแน่นเกินไป
✖ อย่าให้เครื่องได้รับแรงกระแทกหรือการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง เช่น ทำเครื่องหล่นลงพื้น เป็นต้น
✖ อย่าใช้ของเหลวที่ระเหยได้ในการทำความสะอาดตัวเครื่อง ควรทำความสะอาดตัวเครื่องและแบตเตอรี่ด้วย ผ้าแห้งเนื้อนุ่ม
✖ อย่าซักผ้าพันแขนหรือแช่ในน้ำ หากจำเป็นให้ทำความสะอาดผ้าพันแขนด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 75%
- การตกหล่น การชน การงอ จะทำให้ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลดลง หากพบว่าแบตเตอรี่มีความผิดปกติ เช่น บรรจุภัณฑ์เสียหาย แบตเตอรี่ผิดรูป ไม่ควรนำมาใช้
- การทิ้งเครื่องวัดความดันและแบตเตอรี่โดยตรง จะก่อให้เกิดมลพิษและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ควรดำเนินการตามข้อกำหนดสำหรับการทิ้งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์