คู่มือการใช้งานเครื่องวัดน้ำตาลในเลือด GlucoAll-1B
ลงทะเบียนรับประกันสินค้าออนไลน์ ที่นี่ตัวเครื่อง
- ที่ปลดแผ่นตรวจออกจากตัวเครื่อง
- ช่องเสียบแผ่นตรวจน้ำตาลในเลือด
- ไฟแสดงสถานการณ์เชื่อมบลูทูธ
- หน้าจอแสดงผล
- ปุ่มฟังก์ชันบลูทูธ และปิดเสียงเตือน
- ปุ่มบันทึกค่า
- ปุ่มดูค่าเฉลี่ยต่อวัน และปรับลดค่า
- ช่องใส่แบตเตอรี่
แผ่นตรวจน้ำตาลในเลือด
1. ช่องสำหรับสัมผัสหยดเลือด
2. แถบยืนยัน
3. ที่จับแผ่นตรวจ
4. จุดเชื่อมต่อกับตัวเครื่อง
– ด้านหน้าของแผ่นตรวจต้องหงายขึ้นเพื่อสอดเข้าไปในช่องเสียบแผ่นตรวจ และต้องเสียบแผ่นตรวจจนสุด
– ควรใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาล GlucoAll-1B กับแผ่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือด GlucoAll-1B การใช้แผ่นตรวจอื่น อาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง
หน้าจอการแสดงผล
1. ระดับน้ำตาลที่วัดได้ | 10. ค่าเฉลี่ยต่อวัน |
2. แจ้งเตือนระดับคีโตน | 11. สัญลักษณ์แสดงการตั้งปลุก |
3. ข้อความแสดงข้อผิดพลาด | 12. หน่วยการวัด |
4. โหมดบันทึกค่า | 13. สัญลักษณ์แสดงแบตเตอรี่ต่ำ |
5. โหมดตรวจสอบคุณภาพ (QC)
– น้ำยาตรวจสอบความแม่นยำ |
14. สัญลักษณ์แผ่นตรวจ |
6. โหมดการวัด – Gen : ช่วงเวลาใดก็ได้ของวัน – AC : ก่อนมื้ออาหาร – PC : หลังมื้ออาหาร |
15. สัญลักษณ์หยดเลือด |
7.วันที่ | 16. รหัส |
8. สัญลักษณ์ใบหน้า แสดงเมื่อค่าต่ำหรือสูง | 17. สัญลักษณ์แสดงเสียงของเครื่อง |
9. เวลา |
วิธีการตั้งค่า
วิธีการตั้งค่าวันที่ และเวลา
เริ่มต้นการตั้งค่าในขณะเครื่องปิดกด ค้างไว้และกด พร้อมกัน
1. การตั้งวันที่
- ลำดับการตั้งวันที่ คือ ปี/เดือน/วัน โดยที่จะกระพริบตามลำดับ
- กด หรือ เพื่อเลือกตัวเลข แล้วกดปุ่ม M
2. การตั้งค่าเวลา
- กด หรือ เพื่อเลือกรูปแบบเวลาที่ต้องการ (12 ชม. หรือ 24 ชม.) แล้วกดปุ่ม M
- ชั่วโมง / นาที จะกระพริบตามลำดับ กด หรือ เพื่อเลือกตัวเลข แล้วกดปุ่ม M
วิธีการตั้งค่าหน่วยวัดระดับน้ำตาล
- ขณะที่หน่วยการวัดกะพริบ ให้กด หรือ เพื่อสลับระหว่างหน่วย mg/dL และ mmol/L แล้วกดปุ่ม M
วิธีการตั้งค่าช่วงของโหมดการวัดระดับน้ำตาลในเลือด
- ลำดับของการตั้งค่าช่วงของโหมดการวัดระดับน้ำตาลในเลือด คือ ตรวจเวลาเดียวกันของทุกวัน (Gen) ต่ำ ›› ตรวจเวลาเดียวกันของทุกวัน (Gen) สูง ›› ตรวจก่อนมื้ออาหาร (AC) ต่ำ ›› ตรวจก่อนมื้ออาหาร (AC) สูง ›› ตรวจหลังมื้ออาหาร (PC) ต่ำ ›› ตรวจหลังมื้ออาหาร (PC) สูง โดยจะกระพริบตามลำดับ
- ให้กด หรือ จนกว่าตัวเลขช่วงที่ต้องการปรากฏขึ้น แล้วกดปุ่ม M
อาจดูตารางด้านล่างเพื่อกำหนดช่วง - เครื่องมาพร้อมกับช่วงของโหมดการวัดระดับน้ำตาลในเลือดเริ่มต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อกำหนดช่วงที่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน และปรับค่าตามคำแนะนำ
- ฟังก์ชันนี้ใช้ได้กับการทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น
- การตั้งค่าช่วงของโหมดการวัดระดับน้ำตาลในเลือด สามารถปรับแก้ไขค่าโดยค่านั้นจะอยู่ในช่วงระหว่างของค่าที่แสดงในตาราง
วิธีการตั้งค่าเสียง
- เมื่อเสียงสัญญาณดังขึ้น ให้กด หรือ เพื่อสลับระหว่างเปิดและปิด แล้วกดปุ่ม M
วิธีลบค่าที่บันทึก
- หน้าจอแสดง dEL และ ให้กดหรือเพื่อเลือก no เพื่อเก็บค่าที่วัดไว้ในหน่วยความจำ แล้วกดปุ่ม M เพื่อข้าม
- หากต้องการลบค่าทั้งหมด ให้กดหรือ เพื่อเลือก yes จากนั้นกดปุ่ม M เพื่อลบค่าออกจากหน่วยความจำทั้งหมด
วิธีการตั้งค่าแจ้งเตือน
เครื่องมีสัญญาณเตือน 4 รายการ
- หน้าจอจะแสดง OFF และ หากไม่ต้องการตั้งปลุกให้กดหรือเพื่อเลือก OFF จากนั้นกดปุ่ม M เพื่อข้ามขั้นตอนนี้
- หรือเลือก ON แล้วกดปุ่ม M เพื่อดำเนินการต่อ โดยมีชั่วโมง / นาที กะพริบตามลำดับ ให้กดหรือเพื่อเลือกชั่วโมง/นาที ที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม M และไปที่การตั้งค่าการปลุกถัดไป
เมื่อเสียงเตือนดังขึ้น ให้กดหรือเพื่อปิด มิฉะนั้นจะมีเสียงปิ๊บเป็นเวลา 2 นาที จากนั้นจึงปิดเครื่อง
วิธีการตั้งค่าฟังก์ชันบลูทูธ
1. กดปุ่ม ขึ้น ขณะเครื่องปิด จนหน้าจอแสดงคำว่า “BLE”
2. เข้าแอปพลิเคชัน Allwell Health
3. ไปที่เมนู การวัดค่า เลือกเครื่องวัดน้ำตาล และเลือก รุ่น GlucoAll-1B แล้วกดปุ่มบลูทูธเพื่อเชื่อมต่อ
4. ระบบจะทำการดึงข้อมูลล่าสุดขึ้นที่หน้าจอ สามารถตรวจสอบ เพิ่มข้อมูล และกดบันทึก
การติดตั้งแอปพลิเคชัน
ALLWELL Health
[/ux_text]
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ALLWELL HEALTH
เปิดแอปพลิเคชัน ALLWELL HEALTH และกดลงทะเบียน
กรอกเบอร์มือถือ
เพื่อรับเลข OTP
สำหรับยืนยันตัวตน
เลข OTP จะส่งมา
ทางข้อความ SMS
กรอกเเล้วกดยืนยัน
ตั้งค่ารหัสผ่าน
เพื่อเข้าบัญชีผู้ใช้งาน
และกดยืนยัน
เลือกเพศ / กรอกชื่อ
วันเกิด (ปี ค.ศ.)
ส่วนสูง
เลือกอุปกรณ์ที่ใช้งาน กดบันทึก เเล้ว Log in เพื่อใช้งาน
กรอกเบอร์มือถือ
และรหัสผ่านที่ตั้งค่าไว้
เพื่อใช้งานเครื่อง
เข้าสู่หน้าแอปพลิเคชัน ALLWELL HEALTH พร้อมใช้งาน
ผลการวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือด
การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
การบำรุงรักษา และการทำความสะอาด
– ควรเก็บบรรจุภัณฑ์ให้ห่างจากแสงแดด
– ไม่ควรเก็บแผ่นตรวจน้ำตาลไว้ในที่ชื้น ร้อน หรือเย็นจัด ควรเก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 4 – 30°C
– เครื่องวัดน้ำตาลควรเก็บในที่แห้ง และอุณหภูมิปกติ
– สามารถใช้ทิชชู่เปียกฆ่าเชื้อโรคในการทำความสะอาดได้
– ควรเก็บเข็มที่ใช้แล้วลงในกล่องสำหรับเก็บของมีคม
– หากพื้นผิวของเครื่องสกปรก ให้ทำความสะอาดด้วยผ้าชุบน้ำสบู่หมาดๆ เช็ดโดยระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าไปในเครื่อง